1. ตั้งเป้าหมายไว้เกินความสามารถ
การตั้งเป้าหมายงบการลงทุนไว้สูงเกินไป แต่มักไม่ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ฉะนั้นคุณต้องตั้งตัวเลขทางการเงินที่เป็นไปได้ ตระหนักความสามารถในการทำธุรกิจและความเป็นจริงของตลาดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
2. ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
คุณต้องโฟกัสไปที่จุดแข็งของตัวเอง ทำในสิ่งที่ถนัดและสนับสนุนธุรกิจได้ รู้จักมอบหมายงานเล็กๆให้เพื่อนร่วมทีมทำ หรือที่ปรึกษาภายนอกดูแลแทน
3. ไม่ศึกษาตลาดอย่างละเอียด
ก่อนทำธุรกิจ คุณต้องรู้ว่าสินค้าและบริการของคุณต้องอยู่ในตำแหน่งตรงไหนในหัวผู้บริโภคเป้าหมาย ใครคือธุรกิจคู่แข่ง ใครจะเป็นลูกค้า ถ้าศึกษาตลาดมาดี คุณก็จะปรับสินค้า กลยุทธ์การตลาดให้ตอบโจทย์ลูกค้าและฉีกแนวจากคู่แข่งได้
4. เอาการเงินส่วนตัวปนกับการเงินในธุรกิจ
การนำเงินส่วนตัวมาแก้ปัญหากระแสเงินสดของธุรกิจไม่ใช่วิธีที่ดีในระยะยาวแน่ๆ ฉะนั้นคุณต้องทำบัญชีแยกระหว่างการเงินส่วนตัวกับการเงินธุรกิจ ป้องกันการสับสน จะได้รู้ว่าธุรกิจมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องและแก้ปัญหาได้ทันที
5. ให้หุ้นส่วนตัวมากเกินไป
การให้ถือหุ้นมากเกินไป และเร็วเกินไป อาจกลายเป็นความผิดพลาดราคาแพง ฉะนั้นคุณต้องมั่นใจว่านักลงทุนเข้าใจธุรกิจของคุณจริงๆ เราเป็นคนเลือกนักลงทุน ไม่ใช่ให้เขาเลือกเราเพื่ออยากได้เงินจนลืมข้อเท็จจริง
6. ฐานลูกค้าเล็กเกินไป
ถ้ายังพึ่งแต่ลูกค้าเพียงไม่กี่คน ไม่ว่าลูกค้าคนนั้นจะเป็นรายใหญ่แค่ไหน ถ้าลูกค้ารายนั้นหยุดซื้อขายกับคุณ ธุรกิจของคุณก็ตกอยู่ในอันตรายแล้วล่ะ ฉะนั้นคุณต้องขยายฐานลูกค้าให้มาก ช่วยกระจากความเสี่ยงในการลงทุน
7. ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
มีเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ให้ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่โดยเฉพาะ Facebook และ Youtube ฉะนั้นคุณต้องเข้าใจเป้าหายของธุรกิจ ธุรกิจของคุณต้องการอะไร ลงทุนในเครื่องมือที่ให้ผลคุ้มค่าที่สุด
8. เชื่อคำแนะนำของที่ปรึกษามากเกินไป
เพราะถึงแม้ว่าในการทำธุรกิจตอนแรกๆนั้น คำแนะนำของที่ปรึกษาอาจมีประโยชน์ แต่เมื่อธุรกิจโตขึ้นเรื่อยๆ คำแนะนำที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญจะไม่มีประโยชน์ เพราะปัญหาของธุรกิจที่โตขึ้นจะเกินความเชี่ยวชาญของคนอื่น
9. ไม่สนใจลูกค้าเก่า
เพราะการหาลูกค้าใหม่มีต้นทุนมากกว่าการรักษาลูกค้าเก่าถึง 5 เท่า ฉะนั้นคุณจำเป็นต้องทำความเห็นของลูกค้าทั้งหมดมาทำบัญชีรายชื่อ ทำฐานข้อมูลลูกค้า เข้าใจลูกค้าให้มากที่สุดเพื่อวางแผนตอบโจทย์ให้ลูกค้าประทับใจ ฉะนั้นใส่ใส่กับลูกค้าเดิมที่มีด้วย
10. ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
เมื่อธุรกิจไปได้สวยไม่มีปัญหา คุณจะทำธุรกิจด้วยความเคยชิน ทำแต่สิ่งเดิมๆ ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว ไม่ทบทวนแผนธุรกิจ ไม่ดูทิศทางแนวโน้มของอุตสาหกรรมและคู่แข่ง ฉะนั้นต้องรู้จักทบทวนแผนธุรกิจ อัพเดทความเคลื่อนไหวของตล่าดและคู่แข่งเพื่อปรับแผนเสมอ
แหล่งที่มา: 10 ข้อผิดพลาดที่ SMEs มักทำผิด จากหนังสือ 32 SUPERIDEA ติดปีกธุรกิจ SMEs, marketingoops.com
สนใจลองใช้ระบบ Cloud based POS สามารถสมัครใช้งานได้ฟรี คลิกที่นี่